หยุดสนิม ยืดอายุ เครื่องจักรของคุณ ด้วย I-Guard

การติดตั้ง "เครื่องป้องกันสนิมด้วยประจุไฟฟ้าภายใต้ชั้นสี I-Guard" ให้กับ จักรเย็บกระสอบเกลือ


จักรเย็บกระสอบ ติดแท่น ใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ

สำหรับจักรเย็บกระสอบเหมาะนำมาเย็บปิดปากกระสอบที่บรรจุผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น กระสอบข้าวสาร กระสอบปุ๋ย กระดาษดินหรือเม็ดพลาสติก โดยหลักๆแบ่งได้ 2 แบบคือ จักรเย็บกระสอบนิวลอง แบบมือถือและติดแท่น สามารถใช้เย็บปิดปากกระสอบได้หลายชนิดทั้งแบบกระสอบพลาสติกสาน พลาสติกสานเคลือบ กระสอบป่าน ถุงกระดาษหรือบางบริษัทนำไปเย็บกระสอบตาข่าย ใยสังเคราะห์ ในส่วนของจักรเย็บกระสอบมือถือเองก็ยังมีแบ่งออกเป็น 2 ประเภทอีกคือ จักรเย็บกระสอบแบบด้ายเดี่ยวและจักรเย็บกระสอบด้ายคู่และยังสามารถนำมาติดแท่นได้สำหรับลูกค้าที่พึ่งเริ่มต้นทำธุรกิจเพื่อเพิ่มยอดการผลิตต่อวันได้เป็นอย่างดี ส่วนจักรเย็บกระสอบติดแท่น สามารถใช้ควบคู่กับระบบสายพานลำเลียงกระสอบ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต ให้ได้กำลังผลิตที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเพื่อลดจำนวนคนได้เป็นการลดต้นทุนการผลิตได้อย่างดี เหมาะสำหรับโรงสีข้าว บริษัทผลิตอาหารสัตว์ โรงปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยเคมี หรือ โรงผลิตดินบรรจุกระสอบขาย ที่กำลังผลิตยังไม่มาก หรือผู้ที่กำลังเริ่มกิจการ ก็ยังสามารถนำจักรเย็บกระสอบมือถือ มาติดแท่นได้อีกด้วย

I-Guard คืออะไร ?
เครื่องป้องกันสนิมด้วยประจุไฟฟ้าภายใต้ชั้นสี I-Guard 
I-Guard  คือระบบป้องกันสนิมภายใต้ชั้นสี โดยอุปกรณ์ป้องกันสนิมด้วยประจุไฟฟ้า ที่มีการเหนี่ยวนำประจุลบ(-)ให้เรียงตัวอยู่บนชั้นสีของโลหะ เมื่อมีประจุลบ(-)ในอากาศหรือสิ่งแวดล้อมมากระทำ จะถูกผลักออก ซึ่งวิธีนี้ จะไม่มีการกัดกร่อนเกิดขึ้น เป็นการป้องกันสนิมที่ต้นเหตุ ได้ผลลัพธ์สูงสุด ติดตั้งครั้งเดียว อยู่ได้นานกว่า 10 ปี โดยช่างผู้ชำนาญด้านนี้เป็นพิเศษ

บอกได้เลยว่า I-Guard เป็นการปฏิวัติในการป้องกันสนิมเลยก็ว่าได้ เพราะ I-Guard ใช้เทคโนโลยี ในการป้องกันสนิมที่ต้นเหตุ ลงลึกถึงเนื้อเหล็กด้านใน  หรือจะเรียกว่า       I-Guard คือ นวัตกรรมในการป้องกันสนิมในยุค Thailand 4.0 

เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2560 บริษัท นวัชกฤษฎิ์ จำกัด ได้เดินทางไปโรงงานผลิตเกลือรายใหญ่แห่งหนึ่งใน อ.พิมาย จ.นครราชสีมา เพื่อเข้าดูปัญหาสนิม ที่เครื่องจักรเย็บกระสอบเกลือ   


อาคาร บรรจุเกลือ ภายในโรงงานผลิตเกลือ อ.พิมาย จ.นครราชสีมา
โครงสร้างเหล็กของอาคาร บรรจุเกลือสินเธาว์ บางส่วนที่ขยายให้เห็น มีสนิมมากมาย

นี่คือภาพบางส่วนโดยรอบของอาคารหลังนี้ เดียวเราไปดูด้านในห้องบรรจุเกลือ เพื่อดูเครื่องจักรที่ใช้เย็บกระสอบเกลือ ปัญหาของที่นี่คือ "สนิม" หาวิธีป้องกันจนท้อ เลยต้องอยู่กับมันเรื่อยไป.....


นี่คือภาพ เครื่องจักรที่ใช้เย็บกระสอบเกลือ ที่อยู่ภายในอาคารที่ใช้บรรจุเกลือ จากข้อมูลที่ได้รับมาคือ เครื่องจักรที่ใช้ เย็บกระสอบเกลือ ตัวนึงใช้ได้แค่ปีเดียว ก็ต้องสั่งซื้อใหม่ ในราคา ประมาณ 3.3 แสน บาท 


ดูจากสภาพแล้ว"สนิม"กำลังลุกลาม ออกไป โดยมี ออกซิเจนเป็นตัวนำ ส่วนความชื้น และความเค็มเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาให้ลุกลามเร็วยิ่งขึ้น 


เมื่อเข้ามาในห้องนี้อากาศจะเย็นกว่าข้างนอก สรุปโดยรวม ภายในห้องที่ใช้บรรจุเกลือนี้ อุณหภูมิเหมาะสมที่ทำให้เกิดตัวเร่งปฏิกิริยา ออกซิเดชั่น หรือ "สนิม" นั่นเอง คือมีความชื้นสูง มีความเย็นมาก และมีความเค็มของเกลือ 



เวลาเย็บปากกระสอบเกลือ ปัญหาที่สำคัญอีกอย่าง คือ "ตีนผี" กรรมวิธีในการป้องกันสนิมสำหรับตีนผี คือการรมดำ แต่ไม่สามารถทนต่อการกัดกร่อนได้อยู่ดี เมื่อ"ตีนผีขึ้นสนิม"เวลาที่เย็บปิดปากกระสอบเกลือ จะมีสีสนิมติดไปที่กระสอบ 


"สนิม" ที่ลูกปืนสายพาน สีของสนิมในระยะลุกลาม กำลังกัดกร่อนผิวเหล็ก 

ขอขอบคุณ โรงงานผลิตเกลือสินเธาว์ อ.พิมาย จ.นครราชสีมา ที่อนุเคราะห์ ในเรา I-Guard Team จากบริษัทนวัชกฤษฎิ์ จำกัด เข้าพื้นที่เก็บภาพในครั้งนี้ เพื่อนำมาจัดทำเป็น Record ของชิ้นงานค่ะ


วันนี้ทาง บริษัท นวัชกฤษฎิ์ จำกัด นำทีมช่างมาทำการ ติดตั้งเครื่องป้องกันสนิมด้วประจุไฟฟ้าภายใต้ชั้นสี I-Guard ให้กับเครื่องจักรเย็บกระสอบ ตัวใหม่ที่สั่งเข้ามา เพื่อทดลองว่าสามารถป้องกันสนิมได้ ในสภาวะแวดล้อมที่โหด เหี้ยม  ทั้งอากาศที่เย็นจัด ชื้นจัด และ เค็มจัด          I-Guard จะหยุดมันได้ไหม ? เพราะเท่าที่ผ่านมาไม่มีอะไรที่สามารถป้องกันสนิมได้เลย


เครื่องจักรเย็บกระสอบเกลือ ติดเเท่น A6-P2L DS-6A-DS-6WAC ตัวใหม่แกะกล่อง ราคาไม่เบาเลยนะคะ สำหรับเครื่องจักรตัวใหม่นี้ แต่เท่าที่ผ่านมาจะใช้งานได้ประมาณปีเดียว สนิม ลุกลามอย่างรวดเร็ว หลังจากนี้ต่อไปคือการซ่อม บ่อยครั้งมาก สาเหตุหลักๆของการซ่อมคือ การเกิดสนิมเพียงอย่างเดียว


ทุกครั้ง ก่อนการติดตั้งเครื่องป้องกันสนิม ด้วยประจุไฟฟ้าภายใต้ชั้นสี I-Guard จำเป็นอย่างยิ่งในขั้นตอนเเรก จะต้องทำการตรวจเช็ค หาค่าโอห์มมิเตอร์ของดิน ที่เหล็กแต่ละจุด ว่ามีดินหรือไม่? เพื่อง่ายต่อการเก็บข้อมูลการติดตั้ง I-Guard


ช่างจะทำการเช็คหาค่าโอห์มมิเตอร์ ของดิน ทุกชิ้นส่วน ว่าในแต่ละชิ้นนั้น ดินถึงกันหรือไม่การลงสายกราวด์เชื่อมต่อให้ทุกชิ้นส่วนของเครื่องจักรเย็บกระสอบเกลือ เพื่อให้การทำงานของ I-Guard มีประสิทธิภาพในการป้องกันสูงสุด ครอบคลุมอย่างทั่วถึง


การวัดหาค่าโอห์ม ของดิน



การหาตำแหน่ง ในการลงสายกราวด์ เชื่อมต่อทุกชิ้นส่วนของเครื่องจักรเย็บกระสอบเกลือ เพื่อให้การทำงานของ I-Guard มีประสิทธิภาพในการป้องกันสูงสุด ครอบคลุมอย่างทั่วถึง 



ความละเอียดรอบครอบ ในการติดตั้งทุกขั้นตอน ของช่างที่ได้รับการอบรมมา จากบริษัท ทำให้ I-Guard ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ และไม่มีปัญหาตามมาภายหลัง 

            

จากภาพด้านบน การเดินกราวด์เชื่อมระหว่างตู้คอนโทรน กับฝาปิด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดสนิมขึ้นที่ฝาบานปิด การทำขึ้นตอนอย่างถูกวิธี จะหมดปัญหาหยุ๋มหยิ๋มตามมาค่ะ


การหาตำแหน่ง ในการติดตั้งตัวแอโนด (Anode)เพื่อให้การทำงานของ I-Guard ครอบคลุมอย่างทั่วถึง 

แผ่นแอโนด (Anode)

แอโนด(Anode) 1 แผ่น ครอบคลุมได้ 4-5 ตรม. แอโนด(Anode)มีหน้าที่ในการเหนี่ยวนำประจุลบ(-)ให้มาเรียงตัวอยู่บนชั้นผิวเหล็ก เมื่อมีประจุลบ(-)ในอากาศ จะมาจับคู่กับประจุบวก(+)ในเนื้อเหล็ก ก็จะพบกับประจุลบ(-)ที่บนชั้นผิวเหล็ก จึงเกิดการผลักดัน ไม่ให้เกิดปฏิกิริยา ออกซิเดชั้น(Oxidation)ขึ้น นี่คือหลักการทำงานของ I-Guard เครื่องป้องกันสนิมด้วยประจุไฟฟ้าภายใต้ชั้นสี



การทำงานทุกครั้ง ต้องรอบครอบเสมอ สายทุกเส้นควรเก็บให้เรียบร้อย ไม่ให้เกิดความเกะกะ ในการทำงานของลูกค้า จนเกี่ยวหลุดได้


การต่อสายทุกเส้น ต้องมั่นใจว่าไม่หลุด เเละเเน่น หลังจากนั้นต้องป้องกันความชื้นด้วยการพันทับด้วยเทปละลาย อากาศไมาสามารถผ่านเข้าไปได้ เพราะการติดตั้งแต่ละครั้ง คือ 10 ปีขึ้นไป การใส่ใจทุกขั้นตอนจะไม่มีปัญหาตามมาค่ะ


การหาตำแหน่ง ในการติดตั้งแผ่นแอโนด(Anode) ที่ฐานเครื่องจักร จำนวน 2 ตัว (ซ้าย-ขวา) เมื่อหาตำเเหน่งได้เเล้ว ในกรณีที่ชั้นสีหนามากเกินไป ต้องทำการขัดชั้นสีออกก่อน หลังจากนั้นพ่นสีปิดที่ผิวเหล็ก 1 ชั้น เพื่อให้การเหนี่ยวนำประจุลบ(-)ได้ผลดี




ทุกครั้งในการต่อสาย จะต้องอย่าลืมที่จะพันทับด้วยเทปละลายทุกครั้งเพื่อป้องกันความชื้นเข้าไปทำปฏิกิริยากับสายด้านใน 





ช่างติดตั้งต้องมีความเข้าใจระบบอย่างลึกซึ้ง และติดตั้งให้ลูกค้าด้วยความซื่อสัตย์ สายทุกเส้นต้องติดตั้งโดยคิดล่วงหน้าเสมอว่า ถ้าใช้งานไปเป็น 10-20 ปี ต้องติดตั้งอย่างไร ให้อยู่ได้นานที่สุด การต่อสายดิน หรือ แอโนด(Anode)ต้องต่อทุกเส้น เว้นเส้นใดเส้นหนึ่งไม่ได้เด็ดขาด หากขาดเส้นใดเส้นหนึ่งอาจจะส่งผลตามมาในอนาคตได้ เพราะฉะนั้น ความจริงใจของช่างที่มีต่อลูกค้า จึงสำคัญมาก




หลังจากเก็บงานทุกอย่างเรียบร้อย ทุกครั้งก่อนที่จะปล่อยงาน ต้องมีการตรวจวัดกระแสไฟว่า ในระบบที่ติดตั้งไปแล้วนั้น มีกระแสไฟเข้าหรือไม่ ?การวัดกระเเสไฟ ให้อยู่ที่ 7.5-8 โวลต์ 


อย่างที่เรารู้กันมาว่า "การผุกร่อน" นั้นนำมาซึ่งค่าใช้จ่ายในการซ่อมเเซมที่สูงลิ่ว                



เมื่อโมเลกุลของน้ำ ได้ทำปฏิกิริยากับเหล็กหรือโลหะ จะเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่น เเละสนิมก็เกิดขึ้น โดยมากมักจะมาแบบไม่ทันตั้งตัว โดยเฉพาะอย่า่งยิ่ง เมื่อคุณมีความเชื่อมั่นต่อประสิทธิภาพ ในการป้องกันการผุกร่อนของคุณ 



การผุกร่อนจะเกิดขึ้นเร็วหรือช้านั้น ขึ้นอยู่กับ ความสัมพันธ์ระหว่างสภาวะเเวดล้อม และชนิดของวัสดุ ความเข้าใจว่า สนิมเกิดขึ้นมาได้อย่างไร และจะเกิดในตอนไหนนั้น มีความสำคัญต่อความเข้าใจในการหยุดยั้งมัน



ยิ่งคุณรู้เยอะมากเท่าไหร่ โครงการ การจัดการ การผุกร่อน ของคุณก็จะดีและตรงเป้าหมายมากขึ้นไปเท่านั้น ซึ่งมันจะนำมาสู่ การส่งมอบชิ้นส่วนที่มีคุณภาพไปถึงมือลูกค้า ไม่ว่าจะอยู่ในลักษณะภูมิอากาศแบบไหนก็ตาม



I-Guard ขอขอบคุณที่ได้เป็นส่วนหนึ่ง ในการป้องกันการผุกร่อน ให้กับเครื่องจักรในอุตสาหกรรมของคุณ การหาวิธีการป้องกันที่ตรงจุดจะทำให้คุณประหยัดค่าใช้จ่าย ในการซ่อมเเซมอย่างมหาศาลในธุรกิจของคุณ



บริษัท นวัชกฤษฎิ์ จำกัด 

ผู้ผลิต และจำหน่าย เครื่องป้องกันสนิมด้วยประจุไฟฟ้าภายใต้ชั้นสี  I-Guard

สำนักงานใหญ่: 73 ซอยบางพรม37 แขวงบางพรม เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร10170
สาขา 1 : 925/20-21 ซอยเอกชัย32 ถ.เอกชัย ต.มหาชัย อ.เมือง จ.สมุทรสาคร 74000
โทร : 034-425515 , 098-445-6942 ,095-425-515 แฟ็กซ์ : 034-425611
เลขที่ประจำตัวผู้เสียภาษี : 0105558005229
ID Line : nok.i-guard


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

คุณสามารถแสดงความคิดเห็นในส่วนนี้ได้ค่ะ

เครื่องป้องกันสนิมไฟฟ้าเกิดขึ้นมาได้อย่างไร?ตอนที่1